ลักษณะการเคลื่อนไหวเบื้องต้นของร่างกาย
การเคลื่อนไหว คือ การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่ต่อเนื่องกัน
โดยส่วนที่เกี่ยวข้องที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวได้แก่ กลไกการทำงานของข้อต่อ กล้ามเนื้อและระบบประสาท การเคลื่อนไหวเบื้องต้นของร่างกายโดยทั่วไปมี 2 ลักษณะ คือ การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่
และ การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
1. การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่ เป็นการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายเคลื่อนไหวโดยที่ร่างกายอยู่กับที่
เช่นการอ้าปาก หุบปาก การยกไหล่ขึ้นลง การกระพริบตา เป็นต้น ส่วนท่าทางในการปฏิบัติภารกิจประจำวันและท่าทางที่ใช้ในการออกกำลังกาย เล่นกีฬาโดยทั่วไปมีดังนี้
- การก้ม
– เงย คือ การงอพับตัวให้ร่างกายส่วนบนลงมาใกล้กับส่วนล่าง
- การยืด
- เหยียด คือ การเคลื่อนไหวในทางตรงข้ามกับการก้ม โดยพยายามยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
- การบิด คือ การทำส่วนต่าง
ๆ ของร่างกายบิดไปจากแกนตั้ง เช่น การบิดลำตัว
- การดึง คือ การพยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้ามาหาร่างกายหรือทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
- การดัน คือ การพยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ห่างออกจากร่างกาย เช่น การดันโต๊ะ
- การเหวี่ยง คือ การเคลื่อนไหวสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยหมุนรอบจุดให้เป็นเส้นโค้งหรือวงกลม เช่น การเหวี่ยงแขน
- การหมุน คือ การกระทำที่มากกว่าการบิด โดยกระทำรอบๆ แกน เช่น การหมุนตัว
- การโยก คือ การถ่ายน้ำหนักตัวจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปยังอีกส่วนหนึ่ง
โดยเท้าทั้งสองแตะพื้นสลับกัน
- การเอียง คือ การทิ้งน้ำหนักไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งโดยไม่ถ่ายน้ำหนัก เช่น ยืนเอียงคอ
- การสั่นหรือเขย่า คือ การเคลื่อนไหวสั่นสะเทือนส่วนต่างๆ
ของร่างกายซ้ำๆ ต่อเนื่องกัน เช่น การสั่นหน้า การเขย่ามือ สั่นแขนขา
- การส่าย คือ การบิดไปกลับติดต่อกันหลายๆ
ครั้ง เช่น การส่ายสะโพก ส่ายศีรษะ
2. การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ เป็นการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การกระโดด
การกระโดดเขย่ง การสไลด์
กลไกการเคลื่อนไหวของข้อต่อ
ข้อต่อ คือ ส่วนที่เชื่อมยึดระหว่างกระดูกกับกระดูกหรือระหว่างกระดูกกับกระดูกอ่อนหรือกระดูกอ่อนกับกระดูกอ่อนเชื่อมต่อกัน โดยมีเอ็นและพังผืดยึดเหนี่ยวให้กระดูกติดกัน ข้อต่อจะเคลื่อนไหวได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเชื่อมต่อของปลายกระดูกนั้น
ซึ่งลักษณะของข้อต่อที่พบแบ่งได้ 3 ชนิด
1. ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้ เป็นข้อต่อที่มีลักษณะคล้ายฟันปลามาเชื่อมต่อกันระหว่างปลายกระดูกแต่ละชิ้น
ได้แก่ ข้อต่อกะโหลกศีรษะ
2. ข้อต่อที่เคลื่อนไหว เป็นข้อต่อที่ส่วนปลายกระดูกมาต่อกันโดยมีกระดูกอ่อนหรือเอ็นแทรกอยู่ระหว่างกระดูก
2 ชิ้น
ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกหัวเหน่า กระดูกข้อมือ ฯลฯ การเคลื่อนไหวข้อต่อต่าง ๆ นี้ เช่น การกระดกฝ่ามือ ฝ่าเท้า การเอียงตัวทางซ้าย –
ทางขวา เป็นต้น
3. ข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มาก เป็นข้อต่อที่สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก พบทั่วร่างกาย ลักษณะของข้อต่อชนิดนี้จะเป็นโพรง มีเอ็นหรือกระดูกกั้นกลาง มีถุงหุ้มข้อต่อมีเยื่อบาง
ๆ ทำหน้าที่คล้ายน้ำมันเครื่อง ทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวง่าย ข้อต่อชนิดนี้ ได้แก่ ข้อต่อที่สะโพก หัวไหล่ หัวเข่า เป็นต้น ข้อต่อชนิดนี้ส่วนใหญ่ใช้ในการออกกำลังกาย เล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมต่าง
ๆ
รูปแบบการเคลื่อนไหวต่างๆ
1. การเดิน หมายถึงการเดินแบบธรรมดา แต่เพื่อความนิ่มนวลและสวยงามขึ้นก็เพิ่มการย่อเข่าเข้าไปด้วย
อาจจะเดินไปข้างหน้าและเดินถอยหลังก็ได้ ลักษณะของการเดินคือ
เมื่อเท้าใดยกขึ้นก้าวเดินไปข้างหน้า อีกเท้าหนึ่งจะต้องติดอยู่กับพื้นเสมอ
2. การวิ่ง หมายถึง การวิ่งแบบธรรมดาด้วยการใช้ส้นเท้าหรือปลายเท้าลงสู่พื้น ลักษณะของการวิ่งคือ ในขณะที่ก้าวเท้าวิ่งไปนั้นจะมีจังหวะหนึ่งที่ลอยพ้นพื้นทั้งสองเท้า
3. การก้าวเท้าแล้วชิด (Two- Step) หมายถึงการก้าวเท้าไปข้างหน้า 1 ก้าว แล้วลากเท้าหลังมาชิดส้นเท้าหน้าเร็วๆ พร้อมกับรีบก้าวหรือใสเท้าหน้าออกไปข้างหน้าทันที แล้วเริ่มต้นใหม่ด้วยเท้าใดก่อนก็ได้ ทำสลับกันไป ถ้าจะนับเป็นจังหวะก็จะได้ดังนี้ 1-2-3 หรือ ก้าว – ชิด – ก้าว
4. การสไลด์
( Slide ) หมายถึง
การก้าวเท้าออกไปทางข้าง เริ่มด้วยเท้าไหนก็ได้
ถ้าเริ่มเท้าซ้ายก็ก้าวออกไปทางข้างซ้าย ถ้าเริ่มเข้าขวาก็ก้าวออกไปทางข้างขวา
เมื่อก้าวเท้าออกทางข้างแล้วก็ลากอีกเท้าหนึ่งมาชิด แล้วก็เริ่มต้นใหม่
ถ้าจะนับเป็นจังหวะก็จะได้ดังนี้ 1-2-3 หรือ ก้าว
– ชิด – ก้าว เช่นเดียวกันกับการก้าวเท้าแล้วชิด
(Two- Step)
5. การกระโดดและลงเท้าเดียว ( Hop ) หมายถึงการก้าวแล้วกระโดดเขย่ง เช่น เมื่อก้าวเท้าซ้ายออกไป ขณะที่ยกเท้าขวาก้าวตามไปนั้นน้ำหนักตัวอยู่บนเท้าซ้าย ให้ใช้เท้าซ้ายกระโดดขึ้นแล้วลงสู่พื้นด้วยเท้าซ้าย ( เท้าเดิม ) ส่วนเท้าขวาให้ยกเท้าพ้นพื้นงอเข่าไว้ถ้าจะนับเป็นจังหวะก็จะได้ 1- กระโดด หรือ ก้าว – กระโดด
6. กระโดด หมายถึงการกระโดดขึ้นจากพื้นด้วยเท้าเดียวหรือสองเท้าแล้วลงสู่พื้นด้วยเท้าเดียวหรือสองเท้า
7. ชาติช
( Schottische ) หมายถึง
การก้าวไปข้างหน้า 3 ก้าว แล้วทำกระโดดและลงเท้าเดียว (Hop) นั่นเอง จะเริ่มด้วยเท้าใดก่อนก็ได้ ถ้าจะนับเป็นจังหวะก็ได้ดังนี้ 1– 2 -3 – เขย่ง (hop) หรือ ก้าว - ก้าว - ก้าว – เขย่ง (hop)
ซ้าย –
ขวา – ซ้าย – เขย่ง (hop)
8. การแตะส้นและปลายเท้า
(Heel and Toe) หมายถึงการใช้ส้นเท้าแตะพื้น แล้วเปลี่ยนเป็นใช้ปลายเท้าแตะพื้น
9. โด – ซิ –โด (Do – Si -Do) หมายถึงการยกแขนทั้งสองขึ้นระดับไหล่ กางข้อศอกออกข้าง ๆ พับแขนท่อนล่างเข้ามาข้างหน้าระดับคอ
ฝ่ามือแบและคว่ำลงแล้วเดินสวนกันกับคู่ หลีกกันทางซ้ายเมื่อหลังพันกันก็ให้เดินถอยกลับโดยวนทางขวามือ (หลีกกันทางขวา) จนกลับมา
10. สวิงข้อศอก (Elbow
Swing) หมายถึงการใช้ข้อศอกซ้ายหรือขวาคล้องกันกับคู่แล้วเดินหรือวิ่ง
หรือ Hop หรือ
ชาติช หรือ Skip หมุนไปรอบๆ คู่ ถ้าคล้องศอกขวาก็หมุนตามเข็มนาฬิกา ถ้าคล้องศอกซ้ายก็หมุนทวนเข็มนาฬิกา
11. การก้าวกระโดดสลับเท้า
(Skip) หมายถึงวิ่งกระโดดก้าวเท้าซ้ายกระโดดขึ้นเท้าซ้าย
ก้าวขวากระโดดขวา การกระโดดในที่นี้หมายถึงการทำ Hop
นั่นเอง แต่เป็นการกระทำที่เร็วคล้ายกับวิ่ง
12. สวิงมือ
(Hand Swing) หมายถึงการจับมือกับคู่
มือขวาจับมือซ้าย มือซ้ายจับมือขวาเอนตัวไปข้างหลังให้แขนตึง
แล้วก้าวเท้าหมุนตัวไปรอบ ๆ กัน จะหมุนทวนเข็มนาฬิกาก็ได้
13. กระทืบเท้า หมายถึงการใช้เท้ากระทืบพื้นจะกระทืบเท้าเดียวติดต่อกันไป หรือกระทืบเท้าสลับกัน โดยลงพื้นให้เต็มฝ่าเท้า
14. ตามเข็มนาฬิกา หมายถึง
การเลื่อนที่เป็นวงกลมโดยวนไปทางขวา
15. ทวนเข็มนาฬิกา หมายถึง
การเคลื่อนที่เป็นวงกลมโดยวนไปทางซ้าย
16. ควบม้า (Callop) หมายถึง
การให้เท้าใดเท้าหนึ่งสืบเท้าก้าวไปข้างหน้า แล้วก้าวเท้าหลังตามไปเร็ว ๆ เมื่อเท้าหลังก้าวตามไปแล้วให้ยกเท้าหน้าขึ้นพร้อมที่จะสืบเท้าก้าวต่อไป
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเป็นวิธีการในการพัฒนาทักษะการสั่งการ
(motor skills), ความฟิตของร่างกาย, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก
และการทำงานของข้อต่อ การออกกำลังกายสามารถส่งผลไปยังกล้ามเนื้อ, เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน, กระดูก และเส้นประสาทที่กระตุ้นกล้ามเนื้อนั้นการออกกำลังกายหลายประเภทมีการใช้กล้ามเนื้อในส่วนหนึ่งมากกว่าอีกส่วนหนึ่ง
ในการออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic exercise) กล้ามเนื้อนั้นจะออกกำลังเป็นระยะเวลานานในระดับที่ต่ำกว่าความสามารถในการหดตัวสูงสุด
(maximum contraction strength) ของกล้ามเนื้อนั้นๆ
(เช่นในการวิ่งมาราธอน) การออกกำลังกายประเภทนี้จะอาศัยระบบการหายใจแบบใช้ออกซิเจน
ใช้ใยกล้ามเนื้อประเภท type I (หรือ slow-twitch), เผาผลาญสารอาหารจากทั้งไขมัน, โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตเพื่อให้ได้พลังงาน
ใช้ออกซิเจนจำนวนมากและผลิตกรดแลกติก (lactic acid) ในปริมาณน้อย ในการออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจน
(Anaerobic exercise) จะมีการหดตัวของกล้ามเนื้อในระยะเวลารวดเร็ว
และหดตัวได้แรงจนเข้าใกล้ความสามารถในการหดตัวสูงสุดของกล้ามเนื้อนั้นๆ
ตัวอย่างของการออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจน เช่น
การยกน้ำหนักหรือการวิ่งในระยะสั้นแบบเต็มฝีเท้า
การออกกำลังกายแบบนี้จะใช้ใยกล้ามเนื้อประเภท type II (หรือ
fast-twitch) อาศัยพลังงานจาก ATP หรือกลูโคส แต่ใช้ออกซิเจน
ไขมัน และโปรตีนในปริมาณน้อย ผลิตกรดแลกติกออกมาเป็นจำนวนมาก
และไม่สามารถออกกำลังกายได้นานเท่าการออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน
การเคลื่อนไหวที่สร้างสรรค์
กิจกรรมเข้าจังหวะ เป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่สร้างสรรค์ที่ช่วยเสริมสร้างและพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวส่วนต่าง
ๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดี เป็นการเคลื่อนไหวที่มีสุนทรียภาพก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความสนุกสนาน ได้ฝึกการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานรวมทั้งการฝึกประกอบดนตรี เกิดความซาบซึ้งในดนตรี ช่วยขัดเกลาจิตใจให้อ่อนโยน ผู้ที่ฝึกกิจกรรมเข้าจังหวะได้ดีแล้วจะสามารถฝึกการเต้นในระดับสูงได้ดีต่อไป ทักษะที่ใช้ในกิจกรรมเข้าจังหวะเริ่มตั้งแต่การฟังเพลงเพื่อจับจังหวะ การเคลื่อนไหวเบื้องต้น การเคลื่อนไหวประกอบเพลง การฝึกร้องเพลงและการฝึกปรบมือหรือใช้อุปกรณ์ประกอบจังหวะ การฝึกประกอบ ท่าและประกอบเพลง เมื่อฝึกคล่องแคล่วแล้วจะฝึกสร้างสรรค์คิดท่าทางประกอบเพลงที่เลือกเพื่อเสริมสร้างการเคลื่อนไหวตามจินตลีลา
นอกจากการเลือกกิจกรรมเข้าจังหวะให้สนุกสนานไปกับเสียงเพลงและการคิดท่าทางแปลกใหม่แล้ว กิจกรรมชนิดนี้ยังสามารถฝึกได้ในร่ม เป็นกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ สังสรรค์ในหมู่เพื่อนฝูง ใช้สำหรับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและยังใช้เป็นการแสดงกลางแจ้งหรือการแสดงบนเวทีในโอกาสต่าง
ๆ
จึงเป็นกิจกรรมที่ทุกคนได้แสดงการออกกำลังกายที่พัฒนาทักษะทางสังคมและมีโอกาสใช้เสียงดนตรีเข้ามาทำให้กิจกรรมการออกกำลังกายน่าสนใจ ใช้เป็นกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพได้เป็นอย่างดีทักษะการเคลื่อนไหวที่ใช้มีตั้งแต่การฟังจังหวะ การเคาะจังหวะ การเดิน การวิ่ง การสไลด์ การกระโดด การเขย่ง การเดินสองจังหวะ การวิ่งสลับเท้า และการผสมผสานทักษะต่าง ๆ เข้ากับเสียงเพลง หากนักเรียนมีเพลงโปรดหรือเพลงประจำตัว เมื่อนักเรียนฟังเพลงพร้อมกับร้องตามและเคลื่อนไหวท่าทาง
ประกอบเพลงไปด้วยนักเรียนก็จะมีความสุขอย่างมาก
ทักษะทางกลไกและการเคลื่อนไหวในการเล่นกีฬา
1. ความคล่องตัว (Ability) หมายถึง
ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวนั้น
2. การทรงตัว (Balance) หมายถึง
ความสามารถในการรักษาสมดุลของร่างกายเอาไว้ได้ ทั้งในขณะอยู่กับที่และขณะที่เคลื่อนไหว
3. การประสานสัมพันธ์ (Coordination) หมายถึง
ความสามารถในการเคลื่อนไหวอย่างราบรื่น กลมกลืน และมีประสิทธิภาพ
ซึ่งเป็นการทำงานที่ประสานสัมพันธ์
4. พลังกล้ามเนื้อ (Power) หมายถึง
ความสามารถของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายๆส่วนของร่างกาย
ในการหดตัวเพื่อทำงานด้วยความเร็วสูง
แรงหรืองานที่ได้เป็นผลรวมของความแข็งแรงและความเร็วที่ใช้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆเช่น
การยืนอยู่กับที่ การกระโดดไกล การทุ่มลูกน้ำหนัก
5. เวลาปฏิกิริยาตอบสนอง (Reaction Time) หมายถึง
ระยะเวลาที่ร่างกายใช้ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น แสง เสียง
6. ความเร็ว (Speed) หมายถึง
ความสามารถในการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว